องค์การบริหารส่วนตำบลกู่ทอง
อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
https://www.kuthong.go.th
ดร.ดาหวัน  ทะสา
ดร.ดาหวัน ทะสา
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกู่ทอง
0947961619
บุคลากร
ข้อมูลหน่วยงาน
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
online ขณะนี้
   คน
สถิติวันนี้
86   คน
สถิติทั้งหมด
80136   คน
เริ่มนับวันที่ 31 ตุลาคม 2561

ผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2564 ปัญหา อุสรรคและข้อเสนอแนะ 

ลงข่าว: 11/03/2565

ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 องค์การบริหารส่วนตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม มีรายได้แบ่งเป็น

1. รายได้ที่จัดเก็บเอง

2.  รายได้ที่รัฐบาลเก็บแล้วจัดสรรให้

3.รายได้ที่รัฐบาลอุดหนุนให้

4.รายได้ของกิจการเฉพาะการและหน่วยงานภายใต้สังกัดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 66,309,211.63 บาท

ผลการเบิกจ่ายงบปรมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการเบิกจ่ายจำแนกตามแผนงานดดังนี้

1. งบกลาง งบประมาณทัั้งสิ้น 18,870,950 บาท มีผลการเบิกจ่ายจำนวน 18,578,475.44 บาท คิดเป็นร้อยละ 98.45

2. แผนงานบริหารงานทั่วไป งบประมาณทั้งสิ้น 13,861,840 บาท มีผลการเบิกจ่ายจำนวน 9,738,973.28 คิดเป็นร้อยละ 70.26

3.แผนงานก่อสร้าง งบประมาณทั้งสิ้น 709,200  มีผลการเบิกจ่ายจำนวน 68,981.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 96.79

4. แผนงานเกษตร งบประมาณทั้งสิ้น 1,089,280 บาท มีผลการเบิกจ่ายจำนวน 809,071.54 คิดเป็นร้อยละ 74.28

5.แผนงานบริหารงานคลัง งบประมาณทั้งสิ้น 123,340 บาท มีผลการเบิกจ่ายจำนวน 1,232,370 คิดเป็นร้อยละ 99.92

6. งานบริหารงานทั่วไปเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์ งบประมาณทั้งสิ้น 3,926,000 บาท มีผลการเบิก่ายจำนวนเงิน 3,803,186 คิดเป็นร้อยละ 96.87

7. แผนงานศาสนาและวัฒนธรรม งบประมาณทั้งสิ้น 150,000 บาท มีผลการเบิกจ่ายจำนวนเงิน 99,875 คิดเป็นร้อยละ 66.58

8. งานบริหารงานทั่วไปเกี่ยวกับเคหะชุมชน งบประมาณทั้งสิ้น 2,182,720 บาท มีผลการเบิกจ่ายจำนวนเงิน 1,604,245 บาท คิดเป็นร้อยละ 73.50

 

ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารโครงการ

ความหมายของโครงการ

                โครงการ(Project)  คือ การกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา หรือการพัฒนางานที่มี วัตถุประสงค์เด่นชัด  มีกิจกรรมที่ทำให้บรรลุจุดประสงค์อย่างเหมาะสม  มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ มีเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดงาน

ปัญหาการบริหารโครงการ

1.       ปัญหาด้านการวางแผน

2.       ปัญหาด้านการจัดสรรทรัพยากร

3.       ปัญหาด้านการำเนินงานตามแผน

4.       ปัญหาด้านการประสานงาน

5.       ปัญหาด้านการประเมินผล

 1)      ปัญหาด้านการวางแผน  

1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการไม่ชัดเจน กำหนดไว้อย่างกว้างๆ บางวัตถุประสงค์ไม่สามรถนำไปปฏิบัติได้จริง

2.มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ งบรายจ่าย แบบรูปรายการ พื้นที่ดำเนินการ หรือยกเลิกโครงการเพราะพื้นที่ดำเนินการ

3. มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบ กฏหมาย ทำให้การดำเนินการล้าช้า

4. การกำหนดคุณลักษณะและราคาครุภัณฑ์ 

 แนวทางการแก้ไข

1. ในการเขียนโครงการจะต้องวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ซึ่งอาจอยู่ในรูปปริมาณหรือเชิงคุณภาพ บอกปริมาณความสำเร็จเป็นร้อยละ ให้ชัดเจน

2)      ปัญหาด้านการจัดสรรทรัพยากร  ได้แก่ ทรัพยากรไม่เพียงพอ มีการจัดสรรทรัพยากรหรือ

งบประมาณมาให้น้อย ทำให้โครงการต่างๆไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ หรือไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  ตลอดจนผู้บริหารหรือผู้ดำเนินโครงการมีความรู้น้อย หรือขาดความเชี่ยวชาญในการดำเนินโครงการนั้น

 แนวทางการแก้ไข

1.       ก่อนดำเนินโครงการ ผู้ดำเนินโครงการต้องสรรหางบประมาณและแหล่งเงินทุนให้เพียงพอ

2.       ต้องจัดสรรทรัพยากรบุคคล ให้มีความสามารถตรงตามงาน หรือแบ่งงานตามความถนัด

3.       ต้องจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับโครงการในระยะยาว และตอบสนองด้านปริมาณ และคุณภาพ

 3)      ปัญหาด้านการดำเนินงานตามแผน

1.  ในโครงการหนึ่งๆ มักขาดความเป็นเอกภาพ ส่งผลให้การดำเนินงานของบุคคลไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

2. แต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการใช้จ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และประชุมเร่งรัด ติดตาม การดำเนินงาน และการเบิกจ่ายอย่างต่อเนื่อง

3. จัดทีมที่ปรึกษา เพื่อให้คำแนะนำหน่วยงานดำเนินการพร้อมทั้งจัดทำแผนการติดตามหน่วยดำเนินการโดยตรง เพื่อรับทราบปัญหาความล้าช้า และเสนอแนวทางแก้ไชปัญหาโดยทีมที่ปรึกษา

4. การทำแผนการเบิกจ่าย และมีข้อตกลงกันร่วมกับหน่วยงานที่ดำเนินการ เพื่อใ้การดำเนินงานและการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามแผน พร้อมติดตามผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายทุกสัปดาห์ และประเมิณสถานการณ์เพื่อเร่งรัดหน่วยงานที่ดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามแผน

5. การป้องกันปัญหาเกิดซ้ำซ้อนในการจัดทำโครงการในปีงบประมาณต่อไปให้หน่วยงานที่เสนอโครงการ ตรวจสอบและเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ และให้กองช่างตรวจสอบความถูกต้องเรื่องแบบรูปรายการ เพื่อป้องกันการยกเลิก เปลี่ยนแปลง ที่ทำให้เกิดความล้าช้าในการดำเนินงาน

2.   การดำเนินการตามแผนไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้เกิดปัญหาการปฏิบัติงานทุกมิติ

 แนวทางแก้ไข

1.       กำหนดขอบเขตของการดำเนินงานและความรับผิดชอบตามแผนอย่างชัดเจน  เพื่อให้

โครงการมีการดำเนินงานตามเอกภาพและเพื่อความต่อเนื่องในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องตลอดจนผู้รับผิดชอบจะเข้าใจงานมากขึ้น

2.       การดำเนินการตามแผน  ควรจัดหาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะในโครงการนั้น ๆ มาร่วมในการ

ดำเนินการตามแผน

3.       กำหนดให้มีคู่มือดำเนินงาน   เอกสารการดำเนินงานต่าง ๆ ให้บุคลากรดำเนินงานตาม

โครงการในทิศทางเดียวกัน

 4) ปัญหาด้านการประสานงาน

                ขาดการวางระบบผู้ประสานงานกลางที่ชัดเจน   ในการดำเนินงานโครงการอย่างทั่วถึงและสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน

 แนวทางแก้ไข

                1.  กำหนดรูปแบบและรายละเอียดการดำเนินงานที่สอดคล้องกลมกลืนกับโครงการหนึ่ง ๆ และควรกำหนดนโยบาย   เพื่อการประสานอย่างทั่วถึง  ชัดเจน  เพื่อให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องต่อเนื่องกัน

                2.  วางแผนโครงการให้มีระบบโครงสร้าง  การประสานที่เหมาะสมในแต่ละโครงการ

 5)  ปัญหาด้านการประเมินผล

                ปัญหาด้านการประเมินผลโครงการที่อาจเกิดขึ้นได้   คือ

                1.  ปัญหาที่เกิดจากข้อมูลนำเข้า   เช่น   การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการประเมินโครงการ

                2.  ปัญหาที่จากกระบวนการ  เช่น  ความไม่ชัดเจนและความไม่เหมาะสมในวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ

                3.  ปัญหาที่เกิดจากผลงาน   เช่น  ผลการประเมินที่ได้รับบิดเบือนจากความเป็นจริง

 แนวทางแก้ไข

1.       ผู้ประเมินต้องมีความเข้าใจในหลักการในการบริหารและการประเมินโครงการ

2.       ในการประเมินต้องสร้างรูปแบบการประเมินให้เหมาะสมกับลักษณะโครงการ

3.       การประสานงานระหว่างผู้ประเมินและผู้ดำเนินงานโครงการต้องสัมพันธ์กัน

4.       การประเมิน  ผู้ประเมินต้องประเมินตามความเป็นจริง  ไม่บิดเบือนข้อมูล  เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำผลไปพัฒนาองค์กร

ดาวน์โหลดไฟล์ด้านล่าง :


เข้าชม : 169