ชื่อเครื่องยา ย่านางแดง
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ได้จาก เถา ราก ใบ
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ย่านางแดง
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) สยาน (ตาก ลำปาง) หญ้านางแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เครือขยัน (เหนือ) เถาขยัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia strychnifolia Craib
ชื่อพ้อง Bauhinia strychnifolia var. pubescens Craib
ชื่อวงศ์ Fabaceae
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา: ไม้เถาเนื้อแข็ง เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง ผิวเถาสีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง รากมีผิวขรุขระมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็กๆทั่วไป เนื้อไม้ภายในรากสีน้ำตาลแดง ใบรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน เถา รากและใบ มีรสฝาด หวาน เย็น ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี: ใบ ปริมาณความชื้น ไม่เกิน 9.0% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 7.0% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.0% w/w ปริมาณสารสกัด ethanol ไม่ต่ำกว่า 23.0% w/w ปริมาณสารสกัดน้ำ ไม่ต่ำกว่า 16.0% w/w (Department of Medical Sciences, 2018)
สรรพคุณ: ตำรายาไทย: ใช้ ใบ เถา และราก สรรพคุณเหมือนย่านางขาวทุกประการ แต่มีฤทธิ์แรงกว่า และใช้แก้พิษ ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษและแก้ไข้พิษทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูกไม่ถ่าย ใช้ฝนกับน้ำ หรือน้ำซาวข้าว หรือต้มน้ำดื่ม ใบและเถา ต้มน้ำดื่ม ช่วยลดพิษยาฆ่าแมลง ยาพื้นบ้านอีสาน: ใช้ ลำต้น หรือราก เข้ายาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ยาพื้นบ้านอุบลราชธานี: ราก แก้ไข้ แก้พิษเบื่อเมา
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา: ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี: ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก: ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา: ไม่มีข้อมูล
เอกสารอ้างอิง:คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธาน๊ http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=113